วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อุปกรณ์พื้นฐานคอมพิวเตอร์

MICROPROCESSOR

Microprocessor คือ ตัวผลประมวลใน microchip บางครั้งเรียกว่า logic chip ซึ่ง ไมโครโพรเซสเซอร์ เป็นเสมือนเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน เมื่อมีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ โดย ไมโครโพรเซสเซอร์ ได้รับการออกแบบในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ และตรรกะ ซึ่งใช้พื้นที่ขนาดเล็กที่เรียกว่า register การทำงานของ ไมโครโพรเซสเซอร์ แบบดั้งเดิมใช้สำหรับการบวก ลบ การเปรียบเทียบค่า และการนำข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังที่อื่น การทำงานเหล่านี้เป็นผลจากกลุ่มของคำสั่ง (instruction) ที่เป็นส่วนของการออกแบบ ไมโครโพรเซสเซอร์ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ ได้รับการออกแบบให้ไปดึงคำสั่งแรกจาก BIOS หลังจากนั้น BIOS จะได้รับนำมาอยู่หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลคำสั่ง รวมถึงการเรียกโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ





POWER SUPPLY 

Power Supply คือ อุปกรณ์จ่ายไฟให้กับคอมพิวเตอร์ โดยรับกระแสและแรงดัน 220 โวลต์จากไฟฟ้าในอาคารแล้วจ่ายออกตามสายไฟสีต่าง ๆ ด้วยแรงดันที่ต่างกันไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์  แล้วก็ตำแหน่งของพาวเวอร์ซัพพลายมักจะติดตั้งอยู่มุมขวาทางด้านหลังตัวเครื่องคอมพิวเตอร์(case) เป็นส่วนใหญ่ และอยู่ด้านหลังของดิสก์ไดร์ฟ เพื่อให้สะดวกต่อการเชื่อมต่อสายสัญญาณ หรือสายเคเบิลต่าง ๆ



CMOS

 CMOS (ซีมอส) ย่อมาจาก "Complementary Metal Oxide Semiconductor" เป็นชิปไอซีที่ใช้เก็บข้อมูลที่เป็นค่าเฉพาะของแต่ละระบบ เพื่อให้ Bios (ไบออส) นำไปใช้ในการบู๊ตระบบ ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ใน CMOS เช่น เวลา และวันที่ของระบบ ค่าของฮาร์ดดิสก์ และไดรว์ซีดี/ดีวีดี, การปรับค่าความเร็วในการอ่านเขียนของแรม เป็นต้น เป็นชิปสารกึ่งตัวนำที่ถูกติดตั้งแบบออนบอร์ดมากับเมนบอร์ดเลย เราจะมองไม่เห็นตัวชิปเพราะมันถูกผนวกเข้ากับชิปเซ็ต ชิป CMOS เป็นหน่วยความจำที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้กินไฟน้อย และทำงานได้เร็ว




Credit : 












วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

1.ระบบสารสนเทศเพื่อการสนันสนุนการตัดสินใจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท


   1.ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS)   

EIS ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง

   2. ระบบสารสนเทศเพื่อนระดับกลุ่ม (Group Dision Support: GDSS)

GDSS เป็นระบบสารสนเทศชนิดหนึ่ง ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์คอยช่วยเหลือ และให้การสนับสนุน สามารถจัดการกับปัญหากึ่งโครงสร้าง (Semistructured) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งระบบ DSS สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารหรือพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เท่านั้น ไม้ได้ใช้แทนการทำงานของมนุษย์  



2.ความแตกต่างของ GDSS และ EIS

DSS = เน้นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured decision making) มีการใช้ข้อมูลข่าวสารจากระบบ MIS และข้อมูลจากภายนอกบางส่วนมาช่วยในการปรับปรุง หรือ กำหนดแผนงานที่จะต้องสนองเป้าหมายหลักขององค์กรให้มากที่สุด เช่น ระบบ Data miming เป็นต้น

EIS = เน้นการตัดสินใจแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured decision making) จุดมุ่งหมายของระบบ EIS คือ ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไปที่เป็นมา และกำลังจะมีแนวโน้มไปทางใด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หลักๆ ขององค์กรให้สามารถธำรงองค์กรไว้ได้ แข่งขันกับคู่แข่งขันได้อย่างดี ตัวอย่างเช่นระบบ วางแผนกลยุทธ์ Strategic planning เป็นต้น จะเป็นมาตรการสิ่งที่ได้จากการตัดสินใจของผู้บริหารชั้นสูงที่ใช้สั่งการไปสู่ผู้บริหารระดับกลาง เพื่อปรับแผนงานและกระทบถึงผู้บริหารระดับต้น เพื่อปฏิบัติตามแผนงาน ใหม่ต่อไป

credit: http://stangkht.blogspot.com/2013/06/eis-gdss.html