วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเภทของสื่อการเรียนรู้



   หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แต่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ก็คือ หนังสือที่เก็บอยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ หรือเก็บไว้อยู่ในแบบของไฟล์ โปรแกรมส่วนมากที่เข้าใจกันคือ หนังสือที่เก็บในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องใช้กระดาษ และมีการสร้างจากคอมพิวเตอร์ และสามารถอ่านได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก พีดีเอ(Personal Digital Assistant) Palm และ PocketPC หรือกระทั่งอ่านได้จากโทรศัพท์มือถือบางรุ่น
E-book เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่จะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ด้วยความสะดวกสบายของทั้งการสร้าง E-book ความสะดวกในการพกพา ขนาดที่เล็ก และสามารถอ่านได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีอุปกรณ์พกพาที่สามารถอ่าน E-book ได้ สามารถสร้างให้ E-book นอกจากจะมีสีสันสวยงามเพื่อง่ายต่อการอ่าน และทำความเข้าใจแล้ว ยังสามารถใส่เสียง ภาพเคลื่อนไหว สร้างสารบัญ (Link) หรือการคลิกเพื่อส่ง E-Mail ไปยังผู้เขียน หรือ E-Mail ใน E-book ก็ได้
ข้อดีและข้อจำกัดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ข้อดีของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีข้อดีดังต่อไปนี้
1.    เป็นสื่อที่รวมเอาจุดเด่นของสื่อแบบต่างๆ มารวมอยู่ในสื่อตัวเดียว คือ สามารถแสดงภาพ แสง เสียง ภาพเคลื่อนไหว และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
2 .ช่วยให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาวิชาได้เร็วขึ้น         
3. ครูสามารถใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการชักจูงผู้เรียนในการอ่าน,การเขียน,การฟังและการพูดได้
4 .  มีความสามารถในการออนไลน์ผ่านเครือข่ายและเชื่อมโยงไปสู่โฮมเพจและเว็บไซต์ต่างๆอีกทั้งยังสามารถอ้างอิงในเชิงวิชาการได้
5 . หากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตจะทำให้การกระจายสื่อทำได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขว้างกว่าสื่อที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์
6 .   สนับสนุนการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน ห้องสมุดเสมือนและห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
7.   มีลักษณะไม่ตายตัว สามารถแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อักทั้งยังสามารถเชื่อมโยงไปสู่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้โดยใช้ความสามารถของไฮเปอร์เท็กซ์
8.  ในการสอนหรืออบรมนอกสถานที่ การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้เกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น เนื่องจากสื่อสามารถสร้างเก็บไว้ในแผ่นซีดีได้ 
9.   การพิมพ์ทำได้รวดเร็วกว่าแบบใช้กระดาษ สามารถทำสำเนาได้เท่าที่ต้องการ ประหยัดวัสดุในการสร้างสื่อ อีกทั้งยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
 10.  มีความทนทาน และสะดวกต่อการเก็บบำรุงรักษา ลดปัญหาการจัดเก็บเอกสารย้อนหลังซึ่งต้องใช้เนื้อที่หรือบริเวณกว้างกว่าในการจัดเก็บ รักษาหนังสือหายากและต้นฉบับเขียนไม่ให้เสื่อมคุณภาพ
11.    ช่วยให้นักวิชาการและนักเขียนสามารถเผยแพร่ผลงานเขียนได้อย่างรวดเร็ว



CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTIONคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด
โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่
1.       สารสนเทศ (Information) 
2.       ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) 
3.       การโต้ตอบ (Interaction) 
4.       การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) 


วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

    เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ


วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต


การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

     1. ความหมายของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
หมายถึงการเชื่อมต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือคอมพิวเตอร์ใดๆ หรืออุปกรณ์มือถือ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่างๆในอินเทอร์เน็ตได้ (เช่นอีเมลและเวิลด์ไวด์เว็บผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider, ISP) เสนอการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้ประชาชนทั่วไปผ่านทางเทคโนโลยีต่างๆที่มีความหลากหลายของอัตราการส่งสัญญาณข้อมูล (ความเร็ว)
ผู้บริโภคใช้งานอินเทอร์เน็ต, ในช่วงต้นก่อนที่จะกลายเป็นที่นิยม, ผ่านทางโทรฯเข้า (dial-up) ซึ่งเป็นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในทศวรรษที่ 1980 และ 1990. ในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 ผู้บริโภคจำนวนมากใช้เทคโนโลยีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบบรอดแบนด์ทำให้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้เร็วขึ้น

2. ประเภทของการเชื่อมต่ออิทเทอร์เน็ต
1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
          เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต


2.การเชื่อมต่อแบบ ISDN?(Internet Services Digital Network)
        เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ

ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่

3.การเชื่อมต่อแบบ DSL?(Digital Subscriber Line)
         เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ

ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย

4.การเชื่อมต่อแบบ Cable
         เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ

ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย

5.การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)
         เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ

จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่


Weather Cell Phone Concept : แนวคิดเพื่อบอกสภาพดินฟ้าอากาศแนวคิดมือถือ โทรศัพท์มือถือบอกสภาพดินฟ้าอากาศ (Weather Cell Phone Concept) มีแนวคิดและจุดเด่นตรงตัวเครื่องทำจากวัสดุ โปร่งใส ขนาดบางเฉียบ หน้าจอสามารถแสดงผลได้เต็มพื้นที่ตัวเครื่อง ใช้ระบบสัมผัสในการควบคุมการทำงาน สามารถตรวจวัดสภาพอากาศในปัจจุบันแล้วแสดงผลบนตัวเครื่องได้ อย่างเช่น อากาศปลอดโปร่ง หน้าจอจะใสแจ๋ว หากฝนตกตัวเครื่องก็จะมีหยดน้ำฝนเกาะอยู่และถ้ามีหิมะตกหน้าจอก็จะเป็นฝ้าด้วยไอความเย็นของหิมะ และหากต้องการโทรออกหรือเขียนข้อความ เพียงแค่ใช้ปากเป่าลมไปยังหน้าจอ ก็สามารถเขียนตัวอักษรหรือวาดรูปต่างๆ ลงไปได้เลย
ผลงานการออกแบบของ Seunghan Song 



CREDIT: http://netilukandapinun.blogspot.com/

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำศัพท์คอมพิวเตอร์

1. Online = การติดต่อ
2. Upload = การโหลดข้อมูล 
3. Network = เครือข่าย 
4. Web Site = หน้าต่างของเนต 
5. Antivirus Program = โปรแกรมป้องกันไวรัส
6. Computer System = ระบบคอมพิวเตอร์
7. Information System = ระบบขอมูล
8. Computer Network = ระบบเครือข่าย
9. User = ผู้ใช้
10. Account = บัญชีผู้ใช้

11. USB = หน่วยเก็บข้อมูล
12. Copy = คัดลอก
13. Delete = ลบข้อมูล
14. Open = เปิดเอกสาร
15. File = ที่เก็บเอกสาร
16. Minimize = ย่อขนาดเล็กสุด
17. Maximize = ขยายใหญ่สุด
18. Task = งานหนัก
19. Scheme = แผนผัง
20. Symbol = เครื่องหมาย
21. GPS = สัญญาณแผนที่บนโลก
22. Password = รหัสผ่าน

23. Bug = ความผิดพลาดของคอม
24. Database = ฐานข้อมูล
25. CD-ROM = ตัวจัดการกับแผ่นต่างๆ
26. Compact Disc = อุปกรณ์ประเภทแผ่น
27. Mouse = เมาส์
28. Light pen = ปากกาแสง
29. Track ball = ลูกกลมควบคุม
30. Joystick = ก้านควบคุม
31. Scanner = เครื่องกราดตรวจ
32. Touch screen = จอสัมผัส
33. Computer = คอมพิวเตอร์
34. Software = ชุดคำสั่งหรือโปรแกรม
35. Hardware = อุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก
36. Input unit = หน่วยรับเข้า
37. Output unit = หน่วยส่งออก
38. Main Memory unit = หน่วยความจำหลัก 
39. Secondary memory unit = หน่วยความจำรอง
40. Keyboard = แป้นพิมพ์
41. Word = คำหรือคำศัพท์
42. Ram = เก็บข้อมูลและโปรแกรม
43. Chat = การสื่อสารผ่านเครือข่าย
44. Web cam = กล้องสำหรับติดต่อ
45. Modem = เครื่องแปลสัญญาณ
46. Wireless Card = การ์ดเครือข่ายไรสาย
47. Icon = สัญลักษณ์
48. Desktop = พื้นหลังของหน้าจอ
49. Task bar = แถบงาน
50. Restart = รีสตาร์ท

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อุปกรณ์เทคโนโลยีในการเรียนการสอน

 MyScript Calculator

MyScript Calculator

เป็นเรื่องง่ายๆที่คุณจะใช้งานด้านการแสดงผลทางคณิตศาสตร์บนหน้าจอที่ MyScript ช่วยคุณคำนวณออกมา เพียงแค่คุณกดสัญลักษณ์และข้อความดิจิทัลของโปรแกรม ประสบการณ์ที่ได้รับเช่นเดียวกับการคำนวณบนกระดาษ แต่ด้วยความได้เปรียบของระบบ Scratch-outs การเรียนคณิตศาสตร์ของคุณจึงเป็นเรื่องง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก

อันตรายจากการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อุปกรณ์พื้นฐานคอมพิวเตอร์

MICROPROCESSOR

Microprocessor คือ ตัวผลประมวลใน microchip บางครั้งเรียกว่า logic chip ซึ่ง ไมโครโพรเซสเซอร์ เป็นเสมือนเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน เมื่อมีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ โดย ไมโครโพรเซสเซอร์ ได้รับการออกแบบในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ และตรรกะ ซึ่งใช้พื้นที่ขนาดเล็กที่เรียกว่า register การทำงานของ ไมโครโพรเซสเซอร์ แบบดั้งเดิมใช้สำหรับการบวก ลบ การเปรียบเทียบค่า และการนำข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังที่อื่น การทำงานเหล่านี้เป็นผลจากกลุ่มของคำสั่ง (instruction) ที่เป็นส่วนของการออกแบบ ไมโครโพรเซสเซอร์ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ ได้รับการออกแบบให้ไปดึงคำสั่งแรกจาก BIOS หลังจากนั้น BIOS จะได้รับนำมาอยู่หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลคำสั่ง รวมถึงการเรียกโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ





POWER SUPPLY 

Power Supply คือ อุปกรณ์จ่ายไฟให้กับคอมพิวเตอร์ โดยรับกระแสและแรงดัน 220 โวลต์จากไฟฟ้าในอาคารแล้วจ่ายออกตามสายไฟสีต่าง ๆ ด้วยแรงดันที่ต่างกันไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์  แล้วก็ตำแหน่งของพาวเวอร์ซัพพลายมักจะติดตั้งอยู่มุมขวาทางด้านหลังตัวเครื่องคอมพิวเตอร์(case) เป็นส่วนใหญ่ และอยู่ด้านหลังของดิสก์ไดร์ฟ เพื่อให้สะดวกต่อการเชื่อมต่อสายสัญญาณ หรือสายเคเบิลต่าง ๆ



CMOS

 CMOS (ซีมอส) ย่อมาจาก "Complementary Metal Oxide Semiconductor" เป็นชิปไอซีที่ใช้เก็บข้อมูลที่เป็นค่าเฉพาะของแต่ละระบบ เพื่อให้ Bios (ไบออส) นำไปใช้ในการบู๊ตระบบ ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ใน CMOS เช่น เวลา และวันที่ของระบบ ค่าของฮาร์ดดิสก์ และไดรว์ซีดี/ดีวีดี, การปรับค่าความเร็วในการอ่านเขียนของแรม เป็นต้น เป็นชิปสารกึ่งตัวนำที่ถูกติดตั้งแบบออนบอร์ดมากับเมนบอร์ดเลย เราจะมองไม่เห็นตัวชิปเพราะมันถูกผนวกเข้ากับชิปเซ็ต ชิป CMOS เป็นหน่วยความจำที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้กินไฟน้อย และทำงานได้เร็ว




Credit : 












วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

1.ระบบสารสนเทศเพื่อการสนันสนุนการตัดสินใจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท


   1.ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS)   

EIS ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง

   2. ระบบสารสนเทศเพื่อนระดับกลุ่ม (Group Dision Support: GDSS)

GDSS เป็นระบบสารสนเทศชนิดหนึ่ง ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์คอยช่วยเหลือ และให้การสนับสนุน สามารถจัดการกับปัญหากึ่งโครงสร้าง (Semistructured) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งระบบ DSS สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารหรือพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เท่านั้น ไม้ได้ใช้แทนการทำงานของมนุษย์  



2.ความแตกต่างของ GDSS และ EIS

DSS = เน้นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured decision making) มีการใช้ข้อมูลข่าวสารจากระบบ MIS และข้อมูลจากภายนอกบางส่วนมาช่วยในการปรับปรุง หรือ กำหนดแผนงานที่จะต้องสนองเป้าหมายหลักขององค์กรให้มากที่สุด เช่น ระบบ Data miming เป็นต้น

EIS = เน้นการตัดสินใจแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured decision making) จุดมุ่งหมายของระบบ EIS คือ ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไปที่เป็นมา และกำลังจะมีแนวโน้มไปทางใด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หลักๆ ขององค์กรให้สามารถธำรงองค์กรไว้ได้ แข่งขันกับคู่แข่งขันได้อย่างดี ตัวอย่างเช่นระบบ วางแผนกลยุทธ์ Strategic planning เป็นต้น จะเป็นมาตรการสิ่งที่ได้จากการตัดสินใจของผู้บริหารชั้นสูงที่ใช้สั่งการไปสู่ผู้บริหารระดับกลาง เพื่อปรับแผนงานและกระทบถึงผู้บริหารระดับต้น เพื่อปฏิบัติตามแผนงาน ใหม่ต่อไป

credit: http://stangkht.blogspot.com/2013/06/eis-gdss.html

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ใบงานที่ 1

1. การใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่น การโอนเงิน กดเงินผ่านตู้ ATM 
    การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( E-mail )
    การใช้ระบบสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร 

2.ระบบสารสนเทศมี 5 ประเภท คือ   
1   ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (Transaction Processing System : TPS)
 ระบบการประมวลผล เป็นการประมวลผลแบบวันต่อวัน เช่น การรับ-จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการรับ-จ่าย สินค้า เป็นต้น ใช้งานในระดับผู้ปฏิบัติการ ระบบนี้ เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
 ลักษณะเด่นของ TPS
  ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สิ่งที่ องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ  ลดจำนวนพนักงาน   องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว    ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
2  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS)
 คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้ บริหารที่ต้องการการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการ ช่วยงานแบบวันต่อวัน ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่าง ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อขยายขอบเขตความสามารถของธุรกิจ
 ลักษณะเด่นของ MIS1  จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บ ข้อมูลรายวัน
2  จะช่วย ให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
3จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่ เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
4ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการ ใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น   

3  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
 คือระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียม สารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วย ในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสิน ใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่
 ลักษณะเด่นของ DSS1 จะช่วย ผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ                                                                                              
2 จะถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบ กึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง               
3 จะต้อง สามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้น ที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์                       
4 มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความ สามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการ วิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ

 4  ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS)
 คือ EIS ประเภท พิเศษ ที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะช่วย ให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบ สารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบ สัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกัน ทำให้ผู้ บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง

ลักษณะเด่นของ EIS

1ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
2 ระบบสามารถใช้งานได้ง่าย
3 มีความยืดหยุ่นสูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
4 การใช้งาน ใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
5 การสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับสูง ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
6 การสนับสนุนข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
7 ผลลัพธ์ที่แสดง ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
8 การใช้งานกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่าง ๆ
9 ความเร็วในการตอบสนอง จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด

 5    ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence/Expert System : AI/ES)
 หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ในสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยได้รับ ความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้(Knowledge Base) และกฎข้อวินิจฉัย(Inference Rule) ซึ่งเป็นความ สามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัย ความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้า โดยใช้คอมพิวเตอร์
 ลักษณะเด่นของ AI/ES1 ป้องกันและรักษาความรู้ซึ่งอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูลหรือการยกเลิกการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอดจนการสูญหาย เนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้ อย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ แบบแผน
2 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน และมักจะถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาในทันทีที่เกิดความต้องการ
3 การออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีประสิทธิภาพ
4 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอ น เนื่องจากระบบถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศ จากผล กระทบ ทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เช่น ความเครียด ความเจ็บ ป่วย เป็นต้น
5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การสมัยใหม่ ( Modern Organization ) ที่ต้องการ สร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การวิเคราะห์และวางแผนการตลาด การลดต้นทุน การเพิ่มการผลิตภาพ 

วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System : DSS ) เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSSยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของDSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น

Decision Support System (DSS) is a computer-based information system that supports business or organizational decision-making activities. DSSs serve the management, operations, and planning levels of an organization (usually mid and higher management) and help to make decisions, which may be rapidly changing and not easily specified in advance (Unstructured and Semi-Structured decision problems). Decision support systems can be either fully computerized, human or a combination of both.